อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี
ที่มักเป็นโรคประจำฤดูอย่าง “โรคหวัด” ที่นอกจากจะทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจแล้ว ยังอาจลุกลามจนเกิดการติดเชื้อในระบบอวัยวะอื่นๆ อย่าง “หู” ได้อีกด้วย
พญ. อุมาพร พนมธรรม แพทย์โสต ศอ นาสิก ประจำสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า “ในช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาลนับเป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจสุขภาพของลูกน้อยเป็นพิเศษ เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจทำให้ลูกน้อยเป็นโรคหวัดได้ง่าย
ซึ่งโรคหวัดธรรมดาๆ อาจลุกลามจากระบบทางเดินหายใจไปสู่อวัยวะอื่นๆ ข้างเคียงอย่างหู ที่ก่อให้เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ หรือโรคหวัดขึ้นหู ที่อาจนำไปสู่การบกพร่องทางการได้ยินชนิดถาวรได้
โรคหูชั้นกลางอักเสบ หรือ โรคหวัดขึ้นหู มักเกิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ลำคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ แล้วเชื้อเกิดลุกลามผ่านท่อปรับความดันของหูที่อยู่ในโพรงหลังจมูก หรือ ท่อยูสเตเชี่ยน (Eustachian tube)’ เข้าไปยังหูชั้นกลาง ทำให้เกิดอาการปวดหูข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง มีไข้สูง การได้ยินลดลง หูอื้อ ซึ่งถ้าปล่อยอาการทิ้งไว้อาจทำให้แก้วหูทะลุ จนมีน้ำไหลออกมาจากหู
โดยโรคดังกล่าวส่วนมากจะเกิดในเด็กเพราะท่อยูสเตเชี่ยนสั้นกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งพบว่าร้อยละ 80 ของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้ง”
วิธีการสังเกตอาการเบื้องต้น
เมื่อลูกเป็นหวัดควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดนะคะ
เด็กเล็กที่ยังพูดไม่รู้เรื่องหรือพูดไม่ได้ ผู้ปกครองอาจต้องสังเกตพฤติกรรมของเด็กอื่นๆ เช่น สังเกตว่าเด็กร้องไห้โยเยหรือร้องไห้เสียงดังโดยไม่ต้องทราบสาเหตุหรือไม่ เด็กเอามือป้องหูตัวเองหรือถ้าใครไปถูกหูก็ร้องไห้ขึ้นมาทันทีหรือเปล่า เป็นต้น
เด็กโต สามารถสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น ลูกบ่นว่ามีอาการปวดหู หูอื้อ หรือได้ยินไม่ชัดเจน บริเวณช่องหูของลูกมีกลิ่นเหม็น การพูดเสียงดังกว่าปกติ เปิดทีวีเสียงดังกว่าปกติ ไม่ค่อยสนใจเรียน อาการดื้อ ไม่สนใจเมื่อถูกเรียก ซึ่งผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยให้เป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้รักษาหรือรักษาไม่ถูกวิธี อาจส่งผลทำให้เกิดความบกพร่องการได้ยินแบบถาวรได้
การตรวจวินิจฉัยโรค
จะใช้เครื่องตรวจวัดความดันในห้องหูชั้นกลาง และใช้กล้องส่องหู เพื่อตรวจสอบความรุนแรงของอาการโดยไม่มีความเจ็บปวดใดๆ จากนั้นจึงเริ่มต้นการรักษาด้วยยารักษาโรคทั้งอาการหวัด และอาการหูชั้นกลางอักเสบไปพร้อมกัน
สำหรับบางกรณีอย่าง ผู้ป่วยเด็กที่มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย อาทิ เพดานโหว่ ดาวน์ซินโดรม หรือผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 เดือน หรือมีอาการรุนแรงขึ้นหลังรักษาด้วยยา แพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยการฝังท่อปรับความดันแก้วหู โดยวิธีนี้จำเป็นต้องวางยาสลบ และพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 วัน หรือบางกรณีก็ไม่ต้องนอนพักฟื้นเลย ซึ่งเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ร่างกายจะดันท่อที่ฝังให้ออกมาเอง
แม้ว่าโรคหวัดจะเป็นโรคที่ทุกท่านคุ้นเคยและเห็นว่าสามารถรักษาให้หายได้เอง แต่สำหรับลูกน้อย อาการหวัดธรรมดาก็อาจเป็นปัญหาที่ไม่ธรรมดาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตได้เสมอ หากไม่รีบรักษา หรือรักษาผิดวิธีนะคะ
ที่มา : ศูนย์จัดหาทุนอาคารเฉลิมพระเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก