อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี
เหตุผล และเครือข่ายโรงพยาบาลกว่า 50 แห่งในประเทศ ได้หารือกันในเรื่องการใช้ยา พาราเซตามอล หลังพบว่า คนไทยรับประทานยา พาราเซตามอล เกินขนาด เสี่ยงให้เกิดภาวะตับเป็นพิษได้ จึงได้หารือ และเสนอให้ปรับวิธีการจ่ายยา พาราเซตามอล ใหม่ ซึ่งล่าสุดวันที่ 29 ตุลาคม ก็ได้มีการออกมาประกาศแก่ประชาชนดังนี้
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล กำหนดรูปแบบฉลากยา 11 รายการ ให้เครือข่ายโรงพยาบาลกว่า 50 แห่ง นำไปปรับใช้กับระบบของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง โดยยกกรณีการใช้ยา พาราเซตามอล เกินขนาดของคนไทยมาเป็นตัวอย่าง และย้ำห้ามรับประทานยาชนิดนี้ครั้งละ 2 เม็ด
กินยา พาราเซตามอล ครั้งละ 2 เม็ด เมื่อมีอาการปวดหัวหรือเป็นไข้ เป็นความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ที่เข้าใจว่าจะช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยได้ ซึ่งขัดกับหลักเกณฑ์การใช้ยาชนิดนี้ ที่กำหนดว่าห้ามรับประทานเกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งยาพาราเซตามอล 1 เม็ด เท่ากับ 500 มิลลิกรัม
หากดูฉลากยาพาราเซตามอลข้างขวด ที่ระบุว่า รับประทานได้ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง ซึ่งทำให้คนไทยกินยาชนิดนี้มากเกินไป คือสูงถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวัน
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จึงเห็นว่า ต้องกำหนดให้แพทย์สั่งจ่ายยา พาราเซตามอล กับผู้ป่วยเพศหญิง จำนวน 1 เม็ด รับประทานทุก 6 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยชายให้พิจารณาเป็นกรณีไป และให้เขียนกำกับบนฉลากยาด้วยว่า “ห้ามใช้ยา พาราเซตามอล เกินวันละ 8 เม็ด เพราะเป็นพิษต่อตับ”
นอกจากการกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสมแล้ว การปรับรูปแบบฉลากยา ยังเป็นสิ่งจำเป็น เครือข่ายโรงพยาบาลฯกว่า 50 แห่ง จึงกำหนดการปรับรูปแบบฉลากยา 11 รายการ
เช่น ยา พาราเซตามอล ที่ต้องระบุชัดเจนว่าห้ามกินเกินวันละ 8 เม็ด ยารักษาโรคเกาต์ ที่ควรมีฉลากเตือน “หากท้องเสียให้หยุดยาทันที” รวมถึงกลุ่มยาปฏิชีวนะ ควรเตือนเรื่องเชื้อดื้อยา เป็นต้น
ซึ่งในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ ทุกภาคส่วนจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง เพื่อนำโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลไปสู่ภาคปฏิบัติ ให้เกิดการใช้ยาที่ถูกต้อง และเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ขอบคุณที่มาจาก : voicetv.co.th