Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

จ้องจอนาน ระวังสายตาสั้นเทียม

ในภาวะปกติ ตาคนเราสามารถมองวัตถุได้ทั้งใกล้ และไกลได้ เพราะการทำงานของกล้ามเนื้อมัดดังกล่าว ทำให้แก้วตาเพิ่มกำลังหักเหของแสง ทำให้โฟกัสวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ ซึ่งเวลามองไกลกล้ามเนื้อมัดนี้จะ คลายตัว

ส่วนเวลามองใกล้กล้ามเนื้อมัดนี้จะหดตัวเกร็งเพื่อเพิ่มกำลังของแก้วตา ผู้ใดที่จ้องมองใกล้เป็นระยะเวลานาน กล้ามเนื้อนี้จะทำงานหนักกว่าปกติ จึงเกิดภาวะสายตาสั้นค้างอยู่ เมื่อมองภาพไกลจึงยังอยู่ในภาวะสายตาสั้น ทำให้มองภาพไกลไม่ชัด ซึ่งมักเป็นอยู่ในระยะหนึ่ง ถ้ากล้ามเนื้อนี้คลายตัวสายก็จะกลับมาเหมือนเดิม

ดังนั้น ภาวะนี้จึงถือว่าเป็นสายตาสั้นเทียม หรือสายตาสั้นชั่วคราว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้สายตา มองใกล้ เช่น เพ่งมองคอมพิวเตอร์ เล่มเกม ใช้โทรศัพท์มือถือนานเกินไป

ทั้งนี้แพทย์หลายท่านได้ให้ความเห็นว่า ในบางรายสายตาสั้นเทียมหรือสายตาสั้นชั่วคราวอาจกลายเป็นสายตาสั้นจริงก็ได้

นอกจากนี้ ยังมีโรคทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติชนิด พาราซิมพาเธทิค (Parasympathetic) มากเกินไปด้วย เช่น อุบัติเหตุทางสมอง

โรคตาบางชนิดที่ทำให้ Ciliary body ทำงานหนักมากขึ้น เช่น ยูเวียอักเสบ (Uveitis) ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคพาร์กินสัน ยา Chloroquine ยา Diamox ตลอดจนยาคลายกล้ามเนื้อต่างๆ หรือแม้แต่ยาบางตัวที่ใช้รักษาโรคต้อหิน เช่น ไพโลคาร์พีน (Pilocarpine) ก็ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นชั่วคราวได้เช่นกัน

แนวทางในการป้องกันสายตาสั้นเทียม ทำได้ดังนี้

1.เมื่อใช้สายตาระยะใกล้ควรพักสายเป็นระยะเพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้เพ่งนั้นคลายตัวลงอาจเลือกใช้ สูตร 20 /20/20 คือใช้สายตา 20 วินาที มองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที หรืออาจจะพักสายตา 1 นาทีทุกๆ ครึ่งชั่วโมง หรือพักสายตา 5–10 นาที ทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดการเพ่งค้าง

2.ไม่ควรใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอหรืออ่านหนังสือที่มีขนาดตัวอักษรเล็กเกินไปเพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดการเพ่งมากขึ้น

 

โดย นพ.กวิน วณิเกียรติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี