อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี
แต่หลายๆคนอาจจะละเลยการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งๆ ที่คนยุคนี้ มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และการทำงานที่ต้องจดจ้องอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนมากยิ่งขึ้น
หลายคนมักมีอาการตาล้า ตาพร่า ตาเบลอ ตาแห้ง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนจากดวงตา และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมก่อนวัยอันควรมากขึ้น
“โรคจอประสาทตาเสื่อม” (Age-related Macular Degeneration: AMD) เกิดจากเซลล์ที่จอประสาทตาถูกทำลาย
ส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง มองภาพไม่ชัด เห็นภาพบิดเบี้ยวไป หรือมองเห็นแล้วเหมือนมีจุดดำบังตรงกลางภาพ
ซึ่งอาการดังกล่าวจะค่อยๆ เป็นจากน้อยไปหามาก จนถึงขั้นทำให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด
นอกจากนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงแค่คงสภาพการมองเห็นที่เหลืออยู่ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่านั้น
หนึ่งในสาเหตุหลักของโรคจอประสาทตาเสื่อม มาจากพฤติกรรม “ติดหน้าจอ” ซึ่งจากการสำรวจพบว่ากลุ่ม Gen Y หรือคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2524 – 2543 มีปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนช่วงอายุอื่นๆ
คือมีการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ย 7.6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งแสงของหน้าจออุปกรณ์ไอที คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน หากใช้เป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง
นอกจากจะส่งผลให้เกิดอาการ “ตาล้า” “ตาเบลอ” “ตาพร่า” “ตาแห้ง” หรือ “ปวดกระบอกตา” ผลร้ายของแสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ยังมีส่วนเข้าไปกระตุ้นให้เกิดการสะสมของอนุมูลอิสระ ทำร้ายเซลล์จอประสาทตา อันนำไปสู่การเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในท้ายที่สุด
ด้วยเหตุนี้ การดูแลและถนอมสายตาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคจอประสาทตาจึงมีความสำคัญมาก
โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดจอ พักสายตาบ่อยๆ และเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ที่ช่วยบำรุงสายตา โดยเฉพาะผลไม้ที่มีสารแอนโธไซยานิน พบได้ในผลไม้สีม่วงแดง จำพวกตระกูลเบอร์รี่ อาทิ บิลเบอร์รี่ แบลคเคอร์แรนท์ อะซาอิเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ ฯลฯ
ซึ่งจากผลการวิจัยในหลายๆ ประเทศพบว่า “สารแอนโธไซยานิน” มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ที่ทำงานตรงต่อดวงตา ช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา
จากผลการศึกษาในหลอดทดลอง ของ Jang Y P. และคณะ พบว่าแอนโธไซยานิน ช่วยยับยั้งการตายของเซลล์รับแสงของจอประสาทตาที่ถูกกระตุ้นด้วยแสงจ้าเป็นเวลานาน ช่วยลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อม
นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 2000 จากการศึกษาของ Nakaishi H. ยังพบอีกว่า แอนโธไซยานิน มีผลช่วยให้ความสามารถในการมองเห็นในที่มืดหรือที่มีแสงน้อยดีขึ้น และมีผลช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตาสำหรับคนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์
เนื่องจากช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือดฝอยและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอยที่ตา ทำให้ดวงตาได้รับสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังมีผลช่วย “ลดความเสี่ยงของภาวะต้อกระจก” จากการศึกษาทางคลีนิกของ Head K A. พบว่าสารแอนโธไซยานิน สามารถยับยั้งการเกิดต้อกระจกเพิ่มได้ถึง 96 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เห็นผลการยับยั้งเพียง 76 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ฉะนั้น เมื่อพฤติกรรมการติดจอมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของหลายๆ คน เราจึงควรเสริมเกราะป้องกัน และสร้างความแข็งแรงให้กับดวงตา ที่สำคัญ ควรตรวจเช็คสุขภาพดวงตา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ดวงตาคู่เดียวของเรา อยู่กับเราไปได้นานๆ
ขอขอบคุณที่มาจาก : manager.co.th