Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

รู้จักอาการ “ข้อไหล่ติด”

และไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้สุดพิสัยข้อ ไม่ว่าจะขยับเอง หรือให้ผู้อื่นช่วยขยับให้

 

สาเหตุของข้อไหล่ติด ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาทางพยาธิสรีรวิทยา พบการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ และมีการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อเป็นพังผืดตามมาทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลงพบได้ประมาณ 2-5% ของประชากร

 

มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักเป็นกับแขนที่ไม่ถนัดมากกว่าข้างที่ถนัด และมีโอกาสเป็นทั้ง 2 ข้าง ได้ประมาณ 20-30% พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี

 

และพบว่า ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโรคของต่อมไทรอยด์และโรคหัวใจ มีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนทั่วไป

 

อาการของโรคข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะปวดระยะข้อติดและระยะฟื้นตัว

 

1.ระยะปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการปวดค่อยๆ เป็นมากขึ้น ปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ปวดมากตอนกลางคืนจนรบกวนการนอน พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อจะค่อยๆ ลดลง ระยะนี้มักนาน 2-9 เดือน

 

2. ระยะข้อติด อาการปวดจากระยะแรกเริ่มลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทุกทิศทางลดลงชัดเจน อาจส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมาก ระยะนี้ทั่วไปนาน 4-12 เดือน

 

3. ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วง 5 เดือน ถึง 2 ปี

 

การวินิจฉัยโรคแพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ และตรวจร่างกายส่วนการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ เอ็มอาร์ไอ การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อแยกโรคอื่นๆ ออกไปตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

 

การรักษาเป้าหมายของการรักษา คือ การลดความเจ็บปวดเพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหวและการกลับมาใช้งานข้อไหล่ในการทำกิจวัตรประจำวัน

 

เนื่องจากโดยทั่วไปข้อไหล่ติดเป็นภาวะที่หายได้เอง การรักษาแบบประคับประคองตามระยะของโรคจะช่วยให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการดีขึ้น ในระยะปวดการรักษาเน้นลดอาการปวดและการอักเสบอาจให้ยาแก้ปวดและต้านการอักเสบ

 

การออกกำลังเพื่อคงพิสัยข้อ เมื่อเข้าสู่ระยะข้อติดอาการปวดเริ่มน้อยลง การรักษาจะเน้นการเพิ่มพิสัยข้อ ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้เองโดยการยืดดัดข้อไหล่ทุกวัน โดยก่อนการดัดข้อไหล่ควรประคบด้วยแผ่นความร้อน

 

หลังดัดข้อไหล่แล้วอาจใช้แผ่นความเย็นประคบป้องกันการอักเสบ หากไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาทำกายภาพบำบัดโดยการใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนต่างๆ และการดัดข้อไหล่โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยทำให้อาการเป็นปกติเร็วขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรต้องช่วยตนเองด้วยการยืดดัดข้อไหล่ทุกวันร่วมด้วย สุดท้ายในระยะฟื้นตัว จะเน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่

 

หากอาการข้อไหล่ติดไม่ดีขึ้นจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหลังการรักษาอย่างเต็มที่ 4-6 เดือน แพทย์อาจพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด เช่น การดมยาสลบเพื่อดัดข้อไหล่ หรือการผ่าตัดส่องกล้องไปตัดพังผืดหรือเนื้อเยื่อที่ยึดข้อไหล่ เป็นต้น

 

 

ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์