Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

ผู้สูงอายุปวดเมื่อย ควรทำอย่างไร

โดยเฉพาะแขนขา ข้อต่อต่างๆ และกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการปวดเมื่อยจะมีตั้งแต่ อาการเล็กน้อยจนกระทั่งถึงปวดรุนแรง จนทนไม่ไหว


อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุเกิดจากอะไรได้บ้าง


อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุมีได้หลายสาเหตุ อันแรกคือ โรคข้อเสื่อม ซึ่งเกิด ตามข้อต่างๆ เกิดในคนที่มีอายุมาก ซึ่งจะเป็นเกือบทุกคน


และอีกอย่างคือโรค กระดูกผุ มีเนื้อของกระดูกบางลง อันดับที่สามคือโรคหมอนรองกระดูกทับประสาท


และอีกประการหนึ่งก็ได้แก่ พวกโรครูมาติสซั่ม นอกจากนั้นก็อาจจะมาจากโรคไตหรือ โรคกระเพาะอาหาร


อาการปวดเมื่อยจากความชรา แตกต่างจากโรคดังกล่าวหรือไม่


แตกต่างกัน เพราะคนชราปวดเมื่อย ถ้าให้พักผ่อนก็จะหายได้ อาการปวดมัก เป็นช้าๆ ทีละน้อยผิดกันกับโรคต่างๆ ที่กล่าวแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นทันทีโดยรุนแรงและ รวดเร็ว การพักผ่อนอาจจะไม่หายปวด


สาเหตุของการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุเกิดได้อย่างไร


เนื่องจากสาเหตุปวดเมื่อยมีหลายอย่าง การเกิดจะแตกต่างกันไป ถ้าเกิดจาก ความเสื่อมของข้อก็เพราะเสื่อมไปตามกาลเวลา ยิ่งถ้ามีการใช้งานข้อมากกว่าปกติ เช่น แบกของหนัก ทำงานหนักมาก การเกิดโรคกระดูกผุจะพบได้จากผู้ป่วยสูงอายุ ที่เป็นหญิง เพราะฮอร์โมนเพศหญิงลดลง ทำให้แคลเซียมละลายออกจากร่างกายมาก กว่าที่เก็บสะสมไว้


แต่ถ้าเกิดจากการยกของหนักๆ ผิดท่า โดยเฉพาะการออกกำลัง กายโดยไม่มีการอุ่นเครื่อง (warm up) เสียก่อน ก็ทำให้ปวดมากได้ทันที


ผู้สูงอายุควรจะทำอย่างไร เมื่อมีอาการปวดเมื่อยดังกล่าว


โดยทั่วๆ ไปแล้ว ควรพักผ่อน มักก็จะช่วยได้เสมอและการนวดแต่เพียงเบาๆ ได้ผลดี รวมทั้งการทำกายภาพบำบัด จะให้ผลดีเช่นกัน
มีวิธีป้องกันหรือไม่ ที่จะไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว


การป้องกัน ได้แก่ การออกกำลังกายสม่ำเสมอทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อ แข็งแรง การยกของ การทำงานด้วยท่าทางที่เหมาะสมสำหรับวัยและหลีกเลี่ยงงาน หนักมากๆ


อาหารจะเกี่ยวข้องหรือไม่กับการปวดเมื่อย


อาหารมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่บ้าง เช่น โรคเก๊าท์ ปวดข้อจากการมีระดับกรด ยูริคสูง ต้องจำกัดอาหารประเภทเครื่องใน การขาดวิตามินและเกลือแร่ทำให้กระดูก บางลงอาจทำให้ปวดเมื่อยได้ในภายหลัง อาหารแป้งและไขมันที่จะเพิ่มน้ำหนักตัวต้อง จำกัดด้วยเช่นกัน เพราะจะทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดเข่าได้ง่ายเช่นกัน



ที่มา : รศ.นพ.ปรีชา รักษ์พลเมือง ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล