อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี
ผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูปเดินไม่ปกติ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ ไม่สะดวก ทำให้มีความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิว ข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้างการทำงานของกระดูกข้อ และกระดูก บริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิม และอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ
ข้อเข่าเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการเกิดคือ
1.ความเสื่อมแบบปฐมภูมิ หรือ แบบไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิด จากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว เพศ และกรรมพันธุ์
2.ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่ข้อและเส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรัง ที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงาน หรือการเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาต์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
อาการในระยะแรก คือ จะเริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้น-ลงบันไดหรือพับเข่า แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ ข้อ และมีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อมีการหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อเริ่มขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมี เสียงดังในข้อ
เมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่สุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้การเดิน และการใช้ชีวิตประจำวัน ลำบาก เพราะมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ
การวินิจฉัยสามารถทำได้จากการซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยแพทย์ ร่วมกับภาพถ่ายรังสี ซึ่งสามารถบอกความรุนแรงของโรคได้
เขียนโดย : ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี