อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี
หากไม่ได้รับการแก้ไขให้ทันท่วงทีอาจจะทำให้สังคมมีข้อกังขากับคุณภาพของเด็กไทยมากกว่าที่เป็นอยู่
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจ คัดกรองสายตาของลูกหลานสม่ำเสมอ เพราะที่เห็นว่าเด็ก ๆ ซน อยู่ไม่สุข อาจเป็นเพราะมีปัญหาการมองเห็นก็ได้
พญ.ณัฐฐิรา ชัยศรีสวัสดิ์สุข จักษุแพทย์เด็กและกล้ามเนื้อตา โรงพยาบาลสวรรค์เมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า
ปัญหาสายตาในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากการคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับออกซิเจนมากเกินไป หรือเกิดจากภาวะอื่นทำให้เกิดปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง มองไม่ชัด หรือบอดสี ซึ่งบางอย่างยังอยู่ในภาวะที่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้
ในทางกลับกันหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจจะเกิดปัญหาถาวร “สายตาจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก
ถ้ามองเห็นได้ไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น รูปร่าง แสงสี เด็กบางคนมีปัญหาสายตาข้างเดียว จะทำให้การมองเห็นของข้างนั้นแย่ลง
เรียกว่า เป็นภาวะตาขี้เกียจ เนื่องจากสายตาจะปรับไปให้ข้างที่ดีทำงานข้างเดียว ถ้าปล่อยไว้จะทำให้การมองเห็นไม่ชัดไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขภายใน 10 ขวบ จะทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นถาวร
ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ปกครองควรพา เด็ก ๆ มาตรวจวัดสายตากับจักษุแพทย์ เพื่อตรวจคัดกรองทุก ๆ ปี เพราะช่วงนี้ค่าสายตาจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ขึ้นอยู่กับสิ่งกระตุ้น โดยเฉพาะการใช้สมาร์ทโฟน คอม พิวเตอร์ แท็บเล็ต เป็นต้น
อย่างที่กระ ทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าตรวจคัดกรองในเด็กนัก เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อน จากนั้นจึงจะขยายลงไปในเด็กชั้นอนุบาล โดย “ครู”
คือ ด่านแรกในการคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งจะมีแผ่นทดสอบสายตา จากกรมอนามัยทำเอาไว้ให้ หลังการคัดกรองแล้วต้องส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตาสำหรับเด็กทำการตรวจสอบซ้ำ
โดยหยอดตาเพื่อลดการเพ่งตาของเด็ก เพราะธรรมชาติของเด็กยังไม่สามารถบังคับ การเพ่งมองได้เหมือนผู้ใหญ่ และใช้เครื่องวัดสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ใช้ร่วมกับเลนส์สายตา ค่าที่อ่านได้จากเครื่องนี้จะมีความแม่นยำมากกว่า
“ในร้านแว่นตาจะเป็นการวัดแบบผู้ใหญ่ เมื่อพาเด็กไปวัดสายตาที่ร้านแว่นตาจึงให้ค่าสายตาคลาดเคลื่อนสูง เช่น ค่าสายตาสั้น 100 ไปวัดโดยเครื่องโดยไม่หยอดตา อาจจะคลาดเคลื่อน 300-400 ทำให้ได้รับแว่นไม่เหมาะกับปัญหาสายตา นอกจากไม่ช่วยแล้วยังซ้ำเติมปัญหาด้วย
พญ.ณัฐฐิรา ระบุว่า กรอบแว่นและเลนส์สายตาต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับเด็กด้วย เพราะเด็กมักเล่นซนจนเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น เลนส์ ต้องใช้พลาสติก หรือเลนส์นิรภัยที่ไม่แตกแล้วเกิดสะเก็ดเม็ด ๆ เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อดวงตาเด็กได้ กรอบแว่นควรเป็นแบบยืด หยุ่น ไม่หัก ไม่แตก เรื่องสายตา มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ
ดังนั้นผู้ปกครองควรใส่ใจ พาบุตรหลานตรวจวัดสายตาทุกปี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้
ที่มา : เว็บไซต์เดลินิวส์