Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

ไขมันพอกตับ ภัยเงียบของคนอ้วน

แต่ความจริงแล้ว โรคไขมันพอกตับอาจเกิดจากการสังเคราะห์ไขมันในตับผิดปกติ

 

โดยความผิดปกติและพัฒนาการของโรคจะดำเนินไปเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคตับกลุ่มติดสุรา แต่ที่น่ากลัว คือ ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น

 

จึงไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่มที่เป็นโรค ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ

 

ระยะที่ 1 เป็นระยะมีไขมันก่อตัวอยู่ในเนื้อตับ ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลใดๆ

 

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแลให้ดี และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ เกินกว่า 6 เดือน จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรั

 

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มีการอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลง

 

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่อาจทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับ

 

ในประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ 

 

โดยโรคไขมันพอกตับนี้แทบจะไม่แสดงอาการ หรืออาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อย เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ มีอาการตึงๆ บริเวณใต้ชายโครงขวา

 

แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะพบโรคนี้ด้วยความบังเอิญเมื่อมารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจอัลตราซาวด์เพื่อรักษาโรคอื่น

 

โรคไขมันพอกตับ หรือไขมันเกาะตับ หรือไขมันจุกตับ คือ โรคที่มีไขมันเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับเกินปกติ คือ ประมาณ 5-10% ของตับโดยน้ำหนัก

 

โดยทั่วไปมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งจะพบใน 75% ในคนที่เป็นโรคอ้วน 50.1% ของผู้ป่วยเบาหวาน และ 57.7% ของผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ

 

โดยวินิจฉัยได้จากการตรวจอัลตราซาวด์และตรวจเลือดดูค่าตับ หากไม่ได้รับการรักษา จะนำไปสู่โรคตับอักเสบ ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ในที่สุด

 

แนวทางรักษา คือ การลดละเลิกเหล้า แอลกอฮอล์ ควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก เลิกกินขนมจุกจิก ขนมขบเคี้ยว ลดแป้ง ลดหวาน ลดการรับประทานเนื้อแดงจากสัตว์ใหญ่

 

เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว งดดื่มน้ำอัดลมและน้ำผลไม้ปรุงแต่ง บริโภคอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตชนิดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ ผัก และควรออกกำลังกายเป็นประจำ

 

สมุนไพรทางเลือกบำรุงตับ และสามารถใช้ในภาวะไขมันพอกตับได้ ได้แก่ ขมิ้นชัน มะขามป้อม หรือสมอไทย ลูกใต้ใบ รางจืด สิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยก็คือ การไปพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ และติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

 

ที่มา : เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์