อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี
เพราะร่างกายจะได้กำจัดของเสียส่วนเกินรวมไปถึงสารพิษ สารตกค้างต่างๆ ออกไป
แน่นอนว่าหากคุณมีการขับถ่ายที่ดีย่อมส่งผลให้สุขภาพคุณดีตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ละเลยกิจวัตรนี้ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายที่เป็นอันตรายมากกว่าที่คุณคิด
วันนี้เราจึง 5 ข้อเสียของการขับถ่ายไม่เป็นเวลา มานำเสนอ รู้แล้วรีบเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีกัน
1. ท้องผูก
แน่นอนว่าการไม่ยอมถ่ายให้เป็นกิจวัตรทุกวันจะนำมาสู่อาการท้องผูกอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะเมื่อเราไม่ยอมถ่าย และปล่อยให้อุจจาระอยู่ภายในลำไส้
ร่างกายก็จะดูดน้ำในอุจจาระกลับมาใช้ในร่างกายอีกครั้ง ส่งผลให้อุจจาระที่ไม่ได้ถูกถ่ายออกมาแข็งตัวมากขึ้น ทำให้ถ่ายลำบากจนกลายเป็นอาการท้องผูกในที่สุด
2. เชื้อโรคแพร่กระจาย
นอกเหนือจากน้ำที่อยู่ในอุจจาระจะถูกดูดกลับไปใช้ในร่างกายแล้ว บรรดาเชื้อโรคต่างๆ ที่เจริญเติบโตขึ้นภายในอุจจาระก็ยังจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดอีกด้วย
ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการอักเสบ รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำงานหนักขึ้น ผลสุดท้ายเชื้อโรคก็จะทำให้ร่างกายของคุณอ่อนเพลีย มีอาการปวดหัว ท้องอืด ผิวหนังอักเสบ สิวขึ้น แถมยังทำให้คุณอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่ายอีกด้วย
3. สารพิษสะสมในร่างกาย
การขับถ่ายเป็นวิธีที่ร่างกายใช้กำจัดสารพิษ และสารเคมีต่างๆ ในร่างกายออกไปได้ แต่ถ้าหากร่างกายไม่ได้ขับถ่ายทุกวัน ก็จะทำให้สารพิษเหล่านั้นถูกดูดกลับไปสะสมอยู่ในร่างกาย
ไม่ว่าจะในกระแสเลือด หรือตามอวัยวะต่างๆ อย่างเช่น ตับ ลำไส้ใหญ่ และปัญหาที่จะตามมาก็คือสุขภาพของคุณจะเริ่มแย่ลง น้ำหนักจะขึ้น แถมถ้าจะลดน้ำหนักก็ทำได้ยาก เนื่องจากมีสารพิษในร่างกายมากเกินไปนั่นเอง
4. มีกลิ่นปาก และกลิ่นตัว
การที่คุณไม่ขับถ่าย เมื่อเชื้อโรคถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดแล้ว เลือดจะไม่สะอาด เมื่อผ่านไปยังปอด ปอดก็จะฟอกเลือด และขับเชื้อโรคเหล่านี้ออกมาทางลมหายใจ และผิวหนังกลายเป็นกลิ่นเหม็นรบกวนคนข้างๆ ได้
5. เสี่ยงกับโรคผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis)
เมื่อคุณไม่ขับถ่ายของเสียที่สะสมอยู่ในลำไส้ สิ่งที่ตามมาก็คือ ผนังลำไส้ในส่วนที่อ่อนแอจะเกิดการโป่งพองเนื่องจากต้องรับน้ำหนักของอุจจาระที่แข็งตัวขึ้น
และเมื่อถุงที่โป่งพองในลำไส้เหล่านี้มีเชื้อโรคไปสะสมก็อาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อกลายเป็นโรคผนั'ลำไส้ใหญ่อักเสบ จนอาจทำให้เกิดเลือดออกในลำไส้ เป็นหนอง หรือลำไส้อุดตันได้
ที่มา : เว็บไซต์แนวหน้า