Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

โรคหลอดเลือดหัวใจ ภัยเงียบวัยทำงาน

ได้สะท้อนให้เห็นว่าในปัจจุบัน “วัยทำงาน” ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 38.31 ล้านคน ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ และหลอดเลือดจำนวนมากโดยวัยทำงานเพศหญิงป่วยสูงเป็นอันดับสอง

 

รองจากโรคมะเร็ง และวัยทำงานเพศชาย ป่วยสูงเป็นอันดับสาม รองจากอุบัติเหตุ และโรคมะเร็ง

 

ผศ.นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลว่า

 

ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามที่ต้องการผลกระทบของโรคความดันโลหิตสูง

 

โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคเบาหวาน หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ผลกระทบสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.หัวใจห้องขวาล้มเหลว หัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อฟอกเลือด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้า 

 

2.หัวใจห้องซ้ายล้มเหลว หัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอด และจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย เมื่อหัวใจห้องนี้ล้มเหลวจึงทำให้ร่างกายไม่สามารถสูบฉีดเลือด จนเนื้อเยื่อต่างๆ

 

ขาดออกซิเจนเกิดการคั่งของน้ำ และเกลือในปอด จนส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดได้

 

ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยที่ 10% ต่อปี 

 

โดยมีกลุ่มผู้ป่วยเป็นคนในวัยทำงานอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยังคงมีแนวโน้มที่มีอายุลดน้อยลงเรื่อยๆ

 

เนื่องจากการละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมถึงการบริโภคโซเดียม หรืออาหารที่มีรสชาติเค็มมากเกินไป

 

สอดคล้องกับรายงานจากกรมควบคุมโรคที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยรับประทานเกลือมากถึง 10.8 กรัม/วัน และมากกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 5 กรัมเท่านั้น 

 

ทั้งนี้พบว่าผู้ป่วยวัยทำงานจำนวนมากที่มีประวัติการบริโภคโซเดียม หรืออาหารที่เค็มสูง เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาร้า น้ำผลไม้กระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป

 

ขนมที่มีการเติมผงฟูมีโซเดียม รวมไปถึง ชีส เนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงมากยิ่งขึ้นจนส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว

 

สำหรับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวในปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น จึงส่งผลให้การรักษาประสบความสำเร็จและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น

 

แต่ก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีระหว่างทีมแพทย์ และพยาบาลกับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ

 

 

ที่มา : เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์