อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี
ถูกตรวจพบสารกระตุ้น หรือสเตียรอยด์ในร่างกาย หลังเข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บที่หัวเข่า แต่ในเมื่อสารสเตียรอยด์เป็นสารต้องห้ามของนักกีฬา
จึงทำให้น้องเมย์อาจพลาดโอกาสในการเข้าคัดเลือกแข่งขันโอลิมปิกในปีนี้ สารสเตีรอยด์คืออะไร ทำไมถึงห้ามนักกีฬาใช้ มาหาคำตอบกันค่ะ
สเตียรอย์ด์คืออะไร?
สเตียรอย์ด์ เป็นชื่อเรียกโดยย่อของกลุ่มยาที่มีชื่อเต็มว่า corticosteroid ยา กลุ่มนี้มีฤทธิ์ และข้อบ่งใช้มากมาย สามารถใช้ในโรค หรือภาวะต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
สเตียรอย์ด์มีกี่ประเภท?
ยากลุ่มสเตียรอยด์สามารถแบ่งตามรูปแบบของการใช้ยาได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. สเตียรอยด์ประเภทใช้ภายนอก สามารถแบ่งตามรูปแบบของยา และตัวอย่างของโรคที่ใช้ได้ ดังนี้
- ยาทา (ทั้งในรูปครีม โลชัน ขี้ผึ้น) สำหรับรักษาผื่นแพ้ ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน
- ยาหยอดตา ยาป้ายตา ยาหยอดตา สำหรับรักษาภูมิแพ้ หรืออักเสบที่ตา และหู
- ยาพ่นจมูก สำหรับรักษาโรคภูมิแพ้ที่มีอาการทางจมูก ริดสีดวงจมูก
- ยาพ่นคอ สำหรับรักษาโรคหืด ภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการหอบ
2. สเตียรอยด์ประเภทกิน และฉีด
การรักษาโรคหรือภาวะบางอย่าง จำเป็นต้องใช้ยากิน หรือยาฉีดเท่านั้น เช่น อาการแพ้บางชนิด โรคหืดชนิดรุนแรงโรคภูมิคุ้มกันไวเกิน ผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เป็นต้น
สเตียรอยด์กับนักกีฬา
ที่นักกีฬามักแอบใช้สารสเตียรอยด์ เพราะสเตียรอยด์ช่วยเบิร์นไขมัน เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้โตเร็วขึ้น และช่วยฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อให้หายจากอาการบาดเจ็บได้
ดังนั้นในกรณีที่ แพทย์สั่งยาให้นักกีฬา เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ จึงอาจเป็นไปได้ที่ยาเหล่านั้นอาจมีสเตียรอยด์ผสมอยู่ด้วย
แต่สเตียรอยด์เป็นสารต้องห้ามสำหรับนักกีฬา เพื่อป้องกันนักกีฬาโด๊ปร่างกายโดยใช่เหตุ และตัวสเตียรอยด์เองก็เป็นสารอันตรายที่ต้องแพทย์เป็นผู้สั่งให้เท่านั้น
ดังนั้นหากนักกีฬาถูกจับได้ว่าใช้สารกระตุ้นอย่างผิดกฏหมาย ก็จะถูกทำโทษโดยการแบน ไม่ให้ลงแข่งขันเป็นระยะเวลาหนึ่ง
อันตรายจากการใช้ยาสเตียรอยด์
ถ้ากินหรือฉีดยาสเตียรอยด์ในขนาดน้อยๆ เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ มักไม่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง แต่ถ้ากินหรือฉีดต่อเนื่องเป็นเวลานาน
จะก่อให้เกิดผลเสียที่รุนแรงหลายประการด้วยกัน ได้แก่ติดเชื้อโรค (ยากดอาการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกาย) เป็นเบาหวาน (ยาทำให้น้ำตาลในเลือดสูง)
บวมและความดันโลหิตสูง (ยาทำให้ขับลดลง แต่เพิ่มการสะสมไขมันที่หน้า หลังและท้อง) กระดูกพรุน (ยารบกวนสมดุลการสร้างกระดูก)
รวมทั้งเป็นแผลในทางเดินอาหารผิวหนังเหี่ยวย่นและบาง ตาเป็นต้อ การทำงานของต่อมหมวกไตผิดปกติ รบกวนการเจริญเติบโตในเด็ก เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมียาสมุนไพรบางชนิดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย. ที่แอบใส่สารสเตียรอยด์ เพื่อให้ผลการรักษาที่ดีตามสรรพคุณที่โฆษณาไว้ ทำให้เราอาจได้รับสเตียรอยด์โดยที่เราไม่รู้ตัว
ดังนั้นควนหลีกเลี่ยงยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย. ตรวจส่วนผสมของยาก่อนทาน และควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทานยาทุกครั้ง
ทราบอย่างนี้แล้ว ควรระวังสเตียรอยด์ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทา หยอด พ่น หรือฉีด ควรใช้เมื่อแพทย์เป็นผู้สั่งให้เท่านั้นค่ะ
ที่มา : ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก Facebook เครือข่ายรณรงค์ การใช้สเตียรอยด์ ให้ปลอดภัยและเหมาะสม และ pharmacy.mahidol.ac.th
ภาพประกอบจาก istockphoto