อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี
ถ้าพ่อแม่เป็นลูกก็มีโอกาสเป็นถึง 50-70%
โดยอาการของภูมิแพ้จะแตกต่างกัน ถ้าแพ้อากาศจะมีอาการจาม คัดจมูก คันเพดานปากหรือคอ น้ำมูกไหล
ภูมิแพ้บริเวณหลอดลมจะมีอาการไอ แน่นหน้าอก หอบ หายใจขัดหรือหายใจเร็ว บริเวณผิวหนังจะทำให้มีอาการคัน มีผดผื่นตามตัว เป็นโรคที่ไม่หายขาด
และมีความแปรปรวนในตัวเองสูง บางทีอาการเหมือนจะหายสนิท แต่ถ้าไม่ดูแลสุขภาพ หรือมีสิ่งมากระทบอาการแพ้อาจกลับมาใหม่ได้หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้มีคุณภาพชีวิตย่ำแย่
ส่งผลต่อการนอนหลับ และการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก หูชั้นกลางอักเสบ นอนกรน ผิวหนังติดเชื้อ เป็นต้น
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า นอกเหนือจากปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ได้ เช่น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย ควันไฟ ฝุ่นละอองจากแหล่งต่างๆ
สภาพแวดล้อมภายในบ้านก็มีสารก่อภูมิแพ้แทรกตัวอยู่ตามจุดต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึงและกำจัดได้ยาก อีกอย่างสารเหล่านี้ก่อตัวขึ้น และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
ที่สำคัญมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ไวรัส และแบคทีเรียเกิดจากความชื้นหรืออับทึบในที่แสงแดดส่องไม่ถึง
หรือที่สะสมอยู่ตามอุปกรณ์ทำความสะอาด ขนสัตว์ เช่น ขนสุนัข ขนแมว ในบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง
ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจได้ ไรฝุ่นบนที่นอน เก้าอี้ โซฟา หรือเครื่องเรือนที่บุด้วยผ้า นุ่น หรือขนสัตว์
จะมีสะสมอยู่จำนวนมาก รวมถึงละอองเกสรก็เป็นปัจจัยก่อภูมิแพ้ด้วย
"แนะนำให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ถูกสุขลักษณะ มีความสะอาดตามหลักสุขาภิบาล เป็นระเบียบ ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและรับแสงสว่างจากธรรมชาติ
ที่สำคัญต้องทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กเพื่อลดโรคภูมิแพ้" นพ.วชิระ แนะนำการจัดการ สิ่งแวดล้อมในบ้าน
ทว่า วิธีการทำความสะอาดบ้านที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของสารก่อภูมิแพ้ต้องดูแลอย่างครบวงจร เพราะปัจจัยก่อภูมิแพ้เหล่านี้ซ่อนอยู่ในส่วนต่างๆ ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพื้น ที่นอน ตู้เสื้อผ้า
หรือแม้กระทั่งอากาศภายในบ้านซึ่งไม่สามารถมองเห็น แต่นวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้ตอบโจทย์ในการกำจัดเชื้อโรคและปัจจัยก่อภูมิแพ้ต่างๆ
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์