Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

ดูแลป้องกันโรคหลอดเลือดขาตีบ

เดินถือของหนักๆ จะมีอาการปวดน่องข้างขวาเมื่อเดินได้ราว 200 เมตร ถ้าฝืนเดินต่อ ก็จะปวดมากขึ้นจนแทบเดินกะเผลก ทำให้ต้องหยุดพักหรือเดินช้าๆ

 

ก็จะทุเลาปวด ในใจก็คิดว่า น่าจะเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อน่องจากการขาดเลือด เพราะหลอดเลือดแดงขาตีบ 

 

ดังที่ทางแพทย์เรียกว่า “อาการปวดน่องจากการขาดเลือดเป็นพักๆ (intermittent claudication)

 

การดูแลรักษา และป้องกันตนเองสำหรับโรคหลอดเลือดขาตีบ

 

1. ควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นให้ดี เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ โดยการรักษาอย่างจริงจัง กินยา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์

 

ซึ่งแพทย์จะคอยติดตามตรวจเช็กอาการ และภาวะที่อาจพบร่วม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

 

2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

3. ไม่สูบบุหรี่

 

4. กินอาหารสุขภาพ เน้นปลา ผัก และผลไม้ให้มาก ลดอาหารหวาน มัน เค็ม

 

5. หมั่นออกกำลังกายด้วยการเดิน เดินด้วยจังหวะที่เร็วพอควรจนเมื่อรู้สึกมีอาการปวดขาในระดับพอประมาณ ให้หยุดเดินจนกว่าจะหายปวด (ประมาณ 2-3 นาที)

 

แล้วเดินต่อ เมื่อปวดอีก ก็หยุดพัก เดินๆ หยุดๆ เช่นนี้ติดต่อกันนาน 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 ครั้งเป็นอย่างน้อยจะช่วยให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาได้มากขึ้น 

 

สังเกตผลลัพธ์ที่เกิดขี้น คือสามารถเดินได้ระยะนานขึ้น วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการในระยะแรกเริ่มคือ มีเพียงอาการปวดขาเวลาเดินได้สักพัก โดยขาแข็งแรง ไม่มีอาการชา

 

หรืออ่อนแรง และยังไม่มีความผิดปกติอื่นๆ การออกกำลังกายด้วยการเดินยังช่วยควบคุมน้ำหนัก และโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ และยังส่งเสริมสุขภาพกาย จิต และสมอง 

 

6. หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มสูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) ซึ่งนิยมใช้รักษาโรคหวัด คัดจมูก โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบเนื่องเพราะอาจทำให้หลอดเลือดตีบมากขึ้น ปวดขามากขึ้น

 

7. หมั่นดูแลเท้าไม่ไห้เกิดแผล (เช่น ระมัดระวังในการตัดเล็บ สวมใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า ระวังไม่ให้ถูกของมีคมบาด) เพราะหายยากเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง

 

8. หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีแผลที่เท้า เจ็บหน้าอก แขน-ขาชาหรืออ่อนแรง ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

 

9. ถึงแม้ไม่มีอาการปวดขาเวลาเดิน ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจกรองโรคนี้ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

 

- มีอายุมากว่า 70 ปี

 

- มีอายุมากกว่า 50 ปี และเป็นเบาหวาน หรือสูบบุหรี่

 

- มีอายุน้อยกว่า 50 ปี แต่เป็นเบาหวานและปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน เป็นต้น

 

10. การป้องกัน หมั่นออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ มีน้ำหนักตัวปกติ มีโรคประจำตัวต้องรักษา กินอาหารสุขภาพ

 

 

ที่มา : www.thaihealth.or.th