Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

เตือนเฝ้าระวังไข้ซิกา สาเหตุหลักจากยุงลาย

สาเหตุหลักเกิดจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด และช่องทางอื่นที่เป็นไปได้ เช่น การแพร่ผ่านการถ่ายเลือด แพร่จากจากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ ทั้งนี้ ได้เตรียมการเฝ้าระวังโรค โดยแบ่งเป็น 4 ด้านสำคัญ ดังนี้ 

 

1.การเฝ้าระวังทางระบาดวิทย

 

2.การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา 

 

3.การเฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิด 

 

4.การเฝ้าระวังกลุ่มอาการทางระบบประสาท

 

ด้านการรักษา 

 

โรคนี้ยังไม่มีวัคซีน และยังไม่มียารักษาเฉพาะ จึงต้องรักษาตามอาการ คำแนะนำสำหรับประชาชน คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และป้องกันไม่ให้ยุงกัด

 

ด้วยการนอนในมุ้ง หรือทายากันยุง ซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก

 

หากประชาชนมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

 

ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

 

แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) เพราะมียาบางชนิดที่เป็นอันตรายสำหรับการเป็นโรคนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น 

 

 

คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกา (ประเทศในแถบลาตินอเมริกา และแคริบเบียน) ขอให้ผู้เดินทางระมัดระวังป้องกันไม่ให้ยุงกัด

 

โดยสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวให้มิดชิด และใช้ยาทาป้องกันยุงกัด หากเป็นหญิงตั้งครรภ์ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคควรปรึกษาแพทย์

 

ส่วนผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในประเทศไทย มีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ สามารถมารับการรักษา

 

และปรึกษาได้ที่คลินิกเวชศาสตร์การท่องเที่ยว และการเดินทาง 

 

สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสามารถรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง 

 

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้เตรียมจัดทำประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง “โรคไข้ซิกา” เพื่อให้ประชาชนตระหนักในมาตรการป้องกันโรค และช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 

 

โดยเน้นใช้หลัก 3เก็บ ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 

 

2.เก็บขยะ เศษภาชนะ รอบๆบ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย 

 

3.เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริเวณครัวเรือน

 

โรงเรียน เขตก่อสร้าง สถานีขนส่ง และหอพักรอบมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยให้ดำเนินการอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

 

 

ที่มา : www.health.mthai.com