Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

“ฉลากยา” อ่านดีๆ มีประโยชน์

แต่คนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ยาอย่างผิดวิธี ทำให้ส่งผลเสียต่อการรักษา และรวมไปถึงสุขภาพของผู้ใช้ยา บางครั้งผู้ใช้ยาอาจลืมวิธีการใช้ยาแต่ก็ละเลยที่จะอ่านฉลากยา

 

ซึ่งจริงๆ แล้วการอ่านฉลากเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง และมีประโยชน์เป็นอย่างมาก

 

ฉลากยาที่พบได้บ่อย คือ ฉลากยาจากบริษัทผู้ผลิต และฉลากยาจากสถานพยาบาล คลินิก ร้านขายยา ซึ่งรายละเอียดจะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย

 

แต่การให้ข้อมูลมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อให้ผู้บริโภคใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และมีความปลอดภัยจากการใช้ย

 

ข้อมูลแสดงบนบรรจุภัณฑ์

 

ยาทุกชนิดทุกประเภทจำเป็นต้องมีฉลาก และเอกสารกำกับยาติดอยู่ในขวด หรือกล่องยา เพราะฉลาก และเอกสารกำกับยาเหล่านี้คือแหล่งข้อมูลสำคัญที่จะแนะนำให้ผู้บริโภครู้ไว้เพื่อประกอบในการใช้ยา 

 

ในเอกสารกำกับยาจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับยาเอาไว้หลายประเด็น ไม่เพียงแต่ทำให้เราทราบชื่อยา ข้อบ่งใช้ หรือสรรพคุณของยาเท่านั้น แต่ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้

 

ดังนั้นการใช้ยาอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาพยาบาล เพราะหากใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องอาจนำไปสู่โทษอย่างมหันต์ได้ 

 

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ความในมาตรา 25 กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันต้องจัดให้มีฉลากตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้

 

โดยจะต้องปิดไว้ที่ภาชนะ และหีบห่อบรรจุยา หรือฉลาก และเอกสารกำกับยา ซึ่งมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

 

ชื่อยาบนฉลาก ซึ่งจะมีทั้งชื่อสามัญทางยา และชื่อทางการค้า จึงเป็นที่มาของยาชนิดเดียวกันอาจมีชื่อการค้าหลายชื่อหรือมีหลายยี่ห้อ

 

ผู้ใช้ยาจึงควรทราบสูตร ส่วนประกอบ หรือชื่อสามัญทางยาของยาที่ใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงตัวยาที่แพ้ หรือการใช้ยาซ้ำซ้อน อันเป็นสาเหตุของการใช้ยาเกินขนาดที่อาจจะเป็นอันตรายได้

 

วันผลิต และวันหมดอายุ ช่วยให้หลีกเลี่ยงอันตรายจากยาที่เสื่อมสภาพเนื่องจากการใช้ยาที่หมดอายุแล้ว วันหมดอายุของยาจึงบอกช่วงเวลาที่ควรใช้หรือจ่ายยา

 

บางครั้งผู้ผลิตอาจจะใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษแทนข้อความภาษาไทย

 

ผลข้างเคียงของยา ข้อห้ามใช้ และคำเตือน เป็นข้อความที่ผู้ใช้ยาควรให้ความใส่ใจ และให้ความสำคัญ เนื่องจากยานั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ได้

 

เช่น รับประทานยานี้แล้วอาจทำให้ง่วงนอนไม่ควรใช้เครื่องจักร หรือขับขี่ยานพาหนะ 

 

ยานี้จะระคายเคืองกระเพาะอาหาร ถ้ารับประทานขณะท้องว่างอาจจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคตับ หรือโรคไต

 

ไม่ควรใช้ยาใด หากผู้ใช้ยาไม่เข้าใจข้อความในเอกสารกำกับยา สามารถขอคำปรึกษาจากเภสัชกรได้

 

เลขทะเบียนตำรับยาบนบรรจุภัณฑ์มักจะมีคำว่า Reg. No หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา สิ่งนี้แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่า

 

ยานั้นได้ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วว่ามีผลในการรักษาจริ

 

ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษ เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้ใช้ทราบว่ายาดังกล่าวมีข้อควรระวังในการใช้ยามากน้อยแค่ไห

 

หรือควรใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกร โดยมากจะแสดงข้อความด้วยอักษรสีแดงบนบรรจุภัณฑ์

 

ชื่อ และที่ตั้งของผู้ผลิต เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญโดยเฉพาะกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับยาของบริษัทนั้นๆ ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อร้องเรียนได้ถูกต้อง

 

โดยระบุเลขที่หรือครั้งที่ผลิตของยานั้นเพื่อให้หน่วยงานรับเรื่องทำการตรวจสอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว

 

ชื่อ และนามสกุลของผู้ป่วย ฉลากยาจากสถานพยาบาลจะแสดงชื่อ และนามสกุลของผู้ป่วยกำกับทุกครั้ง นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการส่งมอบยาให้ผู้ป่วยถูกรายแล้

 

ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งเพื่อเตือนใจผู้ป่วย คือ ไม่ควรแบ่งยาให้ผู้อื่น หรือรับประทานยาของผู้อื่น 

 

เนื่องจากแต่ละคนอาจมีโรคที่แตกต่างกัน หรือยามีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยบางราย ความรุนแรงของโรคต่างกัน รวมถึงขนาดยาที่ใช้แตกต่างกัน นอกจากจะไม่ช่วยในการรักษา อาจส่งผลเสียต่อผู้อื่นได้

 

การอ่านฉลากยานับเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง นอกจากจะช่วยรักษาประโยชน์ และให้ความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นแหล่งที่เราศึกษาหาความรู้ด้านยาด้วย

 

 

ที่มา : รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล