อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี
(Secondhand SmokeหรือSHS) และคงเข้าใจแล้วว่า ควันบุหรี่มือสองหมายรวมถึงควันสายหลัก (Mainstream Smoke) และควันสายข้างเคียง (Side-stream Smoke)
โดยควันที่ผู้สูบดูดจากมวนบุหรี่เข้าไปในร่างกายแล้วพ่นออกมานั่นคือควันสายหลัก ส่วนควันสายข้างเคียงคือควันที่ลอยอยู่ในอากาศในระหว่างที่บุหรี่ถูกเผาไหม้รอการสูบ
ดังนั้น ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เมื่อรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง (SHS exposure) จึงเป็นอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพทั้งจากควันสายหลัก และควันสายข้างเคียงรวมกัน
ควันบุหรี่ที่เกิดจากการเผาไหม้ของมวนบุหรี่ทำให้เกิดสารเคมีกว่า4,000ชนิดเป็นสารพิษมากกว่า 250 ชนิด และกว่า50ชนิด เป็นสารพิษที่วงการแพทย์ระบุว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
ปัจจุบันในแวดวงวิชาการมีการนำเสนอเรื่องควันบุหรี่มือสาม (Thirdhand SmokeหรือTHS) อันเป็นพิษภัยมืดที่มองไม่เห็นด้วยสายตา และถูกละเลยมองข้ามไป ควันบุหรี่มือสาม คือ
สารพิษจากควันบุหรี่ ที่ตกค้างไว้หลังจากบุหรี่ได้ดับแล้ว หรือเมื่อควันบุหรี่มือสองจางหายไปแล้ว สารพิษดังกล่าวจะตกค้างตามพื้นผิวต่างๆ เช่น ผ้าม่านเสื้อผ้า พรม โซฟา ที่นอน
โดยเฉพาะห้องปิดไม่ถ่ายเทอากาศเป็นเวลาหลายวัน ตัวผู้สูบเองก็ให้ควันบุหรี่มือสามออกมาเช่นกัน ซอกเล็บเส้นผม ร่องฟัน ผิวหนัง เป็นต้น
โดยจากควันบุหรี่มือหนึ่งของผู้สูบก็ได้นำมาสู่ควันบุหรี่มือสอง แล้วก็ได้มาลงท้ายด้วยควันบุหรี่มือสาม
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าการได้รับสัมผัสควันบุหรี่มือสามเป็นอันตรายมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมาก โดยเฉพาะต่อทารก
และเด็กจากการได้รับสัมผัสควันบุหรี่มือสามตามเสื้อผ้า เส้นผมของผู้ที่อุ้มหรือใกล้ชิดแม้ขณะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม
สารพิษบางชนิดในควันบุหรี่มือสามสามารถทำปฏิกิริยากับสารอื่นในสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดสารพิษซึ่งเป็นอันตรายเพิ่มมากยิ่งขึ้นเช่น นิโคติน
เมื่อมันทำปฏิกิริยากับแก๊สไนตรัส (Nitrous acid)ซึ่งพบได้ทั่วไปในอากาศ จะทำให้มันกลายเป็นสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า ไนโตรซา (Nitrosamine)
เด็กมีโอกาสการได้รับสัมผัสควันบุหรี่มือสามมากกว่าผู้ใหญ่เพราะสารพิษในควันบุหรี่มือสามเกาะตามพื้นผิวสิ่งต่างๆ ที่เด็กมักจะคลำ แตะ ลูบ
เอาเข้าปาก หรือหายใจเข้าไปในระบบทางเดินหายใจได้อย่างง่ายดาย เด็กจะได้รับฝุ่นที่มีควันบุหรี่มือสามเข้าร่างกายเป็น 2 เท่าของผู้ใหญ่
เพราะเด็กหายใจเร็วกว่า และสัมผัสใกล้กับพื้นผิวเป็นฝุ่นมากกว่า อีกทั้งร่างกายเด็กนั้นจะมีน้ำหนักน้อยกว่าผู้ใหญ่เป็น10 เท่า นั่นคือ จะได้รับสารพิษเป็น 20 เท่าของผู้ใหญ่
มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับควันบุหรี่มือสามเพิ่มขึ้นมากในต่างประเทศ เช่น ทีมงานวิจัยจาก San Diego State University สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาที่พักอาศัยของผู้ไม่สูบบุหรี่จำนวน 50 ราย และของผู้สูบบุหรี่จำนวน 100 ราย ก่อนการย้ายออก
โดยตรวจวัดระดับนิโคตินที่พบบนพื้นผิว ฝุ่น อากาศภายในบ้าน และนิโคตินบนนิ้วมือของผู้พักอาศัย รวมทั้งมีการตรวจหาสารโคตินินในปัสสาวะ ซึ่งโคตินิน
คือตัวบ่งชี้ถึงการที่ร่างกายได้รับนิโคตินจากบุหรี่ เมื่อนิโคตินเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแตกตัวเป็นโคตินิน และขับออกมาทางปัสสาวะด้วย
ที่มา: รศ.ดร.นิภาพรรณ กังสกุลนิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล